วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

แนะนำตัว


แนะนำตัว มินตรา พรมลา

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ


ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ



ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ
                 ไตรภูมิพระร่วง คำว่าไตรภูมิ  หมายถึง โลกทั้ง ๓ ได้แก่ กามภูมิ  รูปภูมิ  และอรูปภูมิ ไตรภูมิเดิมเรียกว่า ไตรภูมิกถา หรือ เตภูมิกถา  มีความหมายว่า  เรื่องราวของโลกทั้ง ๓  ส่วนพระร่วง หมายถึง พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์สุโขทัย 
                ผู้แต่ง  พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพระยาลิไทยในสมัยสุโขทัย  ราชวงศ์พระร่วง เป็นพระโอรสในพระยาเลอไทย และเป็นพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
                พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงเป็นกษัตริย์ที่ปกครองประชาชนในฐานะธรรมราชา  ทรงยึดมั่นในหลักธรรมของพุทธศาสนา
                ลักษณะคำประพันธ์  เป็นร้อยแก้ว  ประเภทความเรียง แต่ก็มีสัมผัส
คล้องจอง
                เนื้อเรื่องย่อ  ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ  กล่าวถึงกล่าวถึงกำเนิดของมนุษย์ไว้อย่างละเอียดเป็นขั้นตอน  ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งคลอดจากครรภ์มารดา  โดยอธิบายว่าเมื่อแรกปฏิสนธินั้นมนุษย์ที่อยู่ในครรภ์มารดาจะมีขนาดเท่ากลละ หลังจากนั้น ทุก ๆ ๗ วัน ทารกจึงจะมีพัฒนาการ ใน ๗ วันแรก ทารกจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นก้อนดังไข่ไก่  จากนั้นจะเกิด “เบญจสาขาหูด” คือ มีมือ ๒ อัน เท้า ๒ อัน และหัวอีก ๑ หัว  ต่อมาจึงมีขนและเล็บ ซึ่งเป็นจำนวนครบ ๓๒ ทารกจะนั่งยอง ๆ กำมือทั้งสอง  คู้คอต่อหัวเข่าอยู่ในครรภ์มารดา ประมาณ ๗-๑๑ เดือน จึงจะคลอดออกมา
                กุมารที่มีอายุ ๖ เดือน อาจไม่รอดได้ หากอายุครรภ์ ๗ เดือน กุมารมักจะมีสุขภาพอ่อนแอ กุมารผู้มาจากนรกเมื่อคลอดออกมาจะส่งเสียงร้องไห้  ส่วนผู้ที่มาจากสวรรค์ เมื่อคลอดออกมาจะหัวเราะ กุมารที่เพิ่งคลอดจะไม่สามารถจำสิ่งจดจำสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านมาได้  ยกเว้นผู้ที่เป็นปัจเจก                 โพธิเจ้าและผู้ที่เป็นอรหันตาขีณาสพ 
                กำเนิดของมนุษย์เป็นสิ่งที่ยากลำบาก ดังนั้นเมื่อมีโอกาสได้ถือกำเนิดอกมาและอยู่รอดปลอดภัยแล้วก็ควรกระทำความดี  เพื่อให้กุศลผลแห่งการทำความดีนั้นติดตัว  ส่งให้ได้ไปเกิดในชาติภพที่ดีหรือบรรลุนิพพาน
                เนื้อเรื่องกล่าวถึงโลกทั้ง ๓ ดังนี้
                 ๑. กามภูมิ
                     กามภูมิ คือภูมิระดับล่าง มีทั้งสิ้น 11 ภูมิ แบ่งออกเป็น อบายภูมิหรือทุคติภูมิ 4 และ สุคติภูมิ 7 อบายภูมิ คือภูมิชั้นต่ำ มี 4 ชั้น เป็นภูมิของความชั่วช้าต่าง ๆ นรกภูมิ คือภูมิชั้นต่ำที่สุดในอบายภูมิ ที่ยังมีลึกซ้อนกันลงไปอีกถึง 8 ชั้น มหาอเวจีนรก คือชั้นนรกที่ต่ำที่สุด ผู้ที่กระทำบาปอันเป็น อนันตริยกรรม 5 คือ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป ทำลายหรือยุยงสงฆ์ให้แตกแยกกัน จะไปเกิดในขุมนรกชั้นนี้ ถัดขึ้นมาคือ เดรัจฉานภูมิ เปรตภูมิ และอสุรกายภูมิ ตามลำดับ สุคติภูมิ คือภูมิชั้นสูงขึ้นมา ได้แก่ภูมิของมนุษย์และภูมิของเทวดาอีก 6 ชั้น (ภูมิเทวดาทั้ง 6 รวมเรียกว่า ฉกามาพจร) ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในกามภูมิ คือยังหลงมัวเมาอยู่ในกามกิเลส          
                 ๒. รูปภูมิ     - พรหมมีรูป ๑๖ ชั้น เรียกว่า “โสฬสพรหม”  ชั้นที่ ๑๖ คือ อกนิฏฐาภูมิ
                 ๓. อรูปภูมิ    - พรหมไม่มีรูป ๔ ชั้น
                ผู้ใดจะเกิดในภูมิใดนั้นอยู่ที่กรรมดีกรรมชั่วที่ตนทำในชาติก่อน ๆ กรรมเป็นต้นเหตุให้อยู่ในกระแสเวียนว่ายตายเกิด เป็นวัฏสงสารไม่มีวันสิ้นสุด จนกว่าจะหาทางหลุดพ้นจากภูมิทั้งสาม ไปสู่โลกุตรภูมิหรือนิพพานจึงจะได้สุขนิรันดร์
                คุณค่างานประพันธ์
                ๑. ด้านวรรณศิลป์    Ø เป็นร้อยแก้วที่มีสัมผัสคล้องจองกัน เห็นความงามของภาษา
                                          Ø มีการใช้โวหารภาพพจน์เชิงอุปมา ทำให้เกิดจินตภาพที่ชัดเจน
                ๒.ด้านสังคม          Ø ด้านศาสนา มีการใช้หลักปรัชญาทางพุทธศาสนา
ชี้ให้เห็นถึงวัฏสงสาร คือ การเกิด เพื่อชี้นำให้คนทำความดี
                                          Ø ด้านวิทยาศาสตร์ มีการอธิบายการเกิดของมนุษย์ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น แรกปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดา ทารกจะเป็นกลละ
ซึ่งหมายถึง เซลล์ เป็นต้น
                ๓. ด้านประเพณีและวัฒนธรรม ความคิดความเชื่อที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วง ได้ตกทอดอยู่ในประเพณีและวัฒนธรรมของคนไทยในสังคมปัจจุบัน เช่น การจัดดอกไม้ธูปเทียนใส่มือผู้ตายก่อนปิดฝาโลง เพื่อให้ผู้ตายไปบูชาพระจุฬามณีในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
                ความคิดเรื่องแผนภูมิจักรวาล นรก สวรรค์ พรหม และนิพพาน ก่อให้เกิดผลงานด้านจิตรกรรม และสถาปัตยกรรมทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น มิสกวัน ปารุสกวัน จิตรลดา เป็นชื่อสวนของพระอินทร์ ดุสิตเป็นชื่อสวรรค์ชั้นหนึ่งในสวรรค์หกชั้น สอดคล้องกับความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ
                 วิเคราะห์จุดมุ่งหมาย 
                ๑. จุดมุ่งหมายเรื่องไตรภูมิพระร่วง มีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสามที่ไม่มีความแน่นอน เพื่อให้มนุษย์เร่งทำบุญหรือกรรมดี ละบาปหรือกรรมชั่ว เพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏหรือบรรลุนิพพานที่ประเสริฐกว่าสมบัติหรือความสุขใด ๆ ที่มีในโลกทั้งสาม
                ๒. นิรันดร์สุขแห่งนิพพาน ความสุขที่ได้จากนิพพานเป็นความสุขนิรันดร์ ไม่มีที่สิ้นสุดและไม่มีทางแปรเปลี่ยนเป็นอื่นเลย วิธีปฏิบัติให้บรรลุโลกุตรภูมิหรือนิพพานเริ่มจากการบรรลุมรรคผลขั้นต่าง ๆ สูงขึ้นเรื่อย ๆ  จากพระโสดาบัน เป็นพระส���ทาคามี และเป็นพระอรหันต์ หลังจากนั้นจึงบรรลุนิพพาน
                กวีได้ตระหนักว่าการบรรลุนิพพานเป็นเรื่องยากของมนุษย์ทั่วไป จึงให้กำลังใจว่า ถ้ายังไม่บรรลุนิพพานก็จะได้เป็นเทพยดาในสวรรค์ หรือมิฉะนั้นก็อาจได้เกิดในยุคพระศรีอาริย์ ซึ่งมีความสุขสบายแบบเดียวกับมนุษย์ในอุตรกุรุทวีป
                ความสุขในอุตรกุรุทวีป ทวีปที่มนุษย์อาศัยอยู่ มี ๔ ทวีป อยู่ ๔ ทิศของเขาพระสุเมรุ มี อุตรกุรุทวีป อยู่ทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ  ชมพูทวีปอยู่ทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ อมรโคยานทวีปอยู่ทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ  บูรพวิเทหทวีปอยู่ทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ
                คนใน ๓ ทวีป ยกเว้นชมพูทวีป  รักษาศีลอยู่เสมอ ขึงมีอายุแน่นอนและอยู่อย่างมีความสุข และคนในอุตรกุรุทวีปจะมีความสุขมากที่สุด คือ จะมีอายุถึง ๑,๐๐๐ ปี เป็นหนุมสาวอยู่เสมอ มีความงดงามมาก ไม่ต้องทำการงานใด ๆ มีกับข้าวและที่นอนเกิดขึ้นตามใจปรารถนา ไม่รู้จักเจ็บป่วย คลอดลูกก็ไม่เจ็บท้อง ไม่ต้องเลี้ยงลูกเอง คนอื่นในสังคมช่วยกันเลี้ยง เมื่อตายก็ไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ
                ส่วนชมพูทวีป เป็นทวีปที่เราอาศัยอยู่คนในทวีปนี้มีอายุไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับบุญกรรมที่ทำ ทวีปนี้เป็นที่เกิดของพระพุทธเจ้า พระจักรพรรดิราช พระอรหันต์ คนในทวีปนี้จึงมีโอกาสได้ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม และสร้างสมบุญญาบารมี ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีกว่าเดิม และอาจจะถึงขั้นหลุดพ้นวัฏสงสารไปสู่นิพพานได้

(ข้อมูลจาก  สอางค์ ดำเนินสวัสดื, ๒๕๕๑, สุนทรีญา  สิริสุนทรเจริญ, ๒๕๕๒)

พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร



พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร



นิราศภูเขาทอง




นิราศภูเขาทอง

    นิราศภูเขาทองเป็นวรรณคดีประเภทนิราศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดของสุนทรภู่ (พ.ศ. ๒๓๒๙ - ๒๓๙๘) ท่านแต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทองที่กรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน) เมื่อเดือนสิบเอ็ด ปีชวด (พ.ศ. ๒๓๗๑) ขณะบวชเป็นพระภิกษุ 


ลักษณะคำประพันธ์
        นิราศภูเขาทองแต่งด้วยกลอนแปด มี ความยาวเพียง ๘๙ คำกลอนเท่านั้น แต่มีความไพเราะ และเรียบง่าย ความแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึกขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของเส้นทางที่กำลังเดินทางไปด้วย ท่านมักจะเปรียบเทียบชีวิตและโชคชะตาของตนกับธรรมชาติรอบข้างที่ตนได้เดิน ทางผ่านไป มีหลายบทที่เป็นที่รู้จักและท่องจำกันได้
การเดินทางในนิราศ
        สุนทรภู่ล่องเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาไปกับลูกชายชื่อหนูพัด ผ่านวัดประโคน บางยี่ขัน ถึงบางพลัด ผ่านตลาดแก้วตลาดขวัญในเขตจังหวัดนนทบุรี จากนั้นก็ผ่านเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นย่านชาวมอญ เข้าสู่ จังหวัดปทุมธานี หรือเมืองสามโคก แล้วเข้าเขตอยุธยา จอดเรือที่ท่าวัดพระเมรุ ค้างคืนในเรือ มีโจรแอบจะมาขโมยของในเรือ แต่ไหวตัวทัน รุ่งเช้าเป็นวันพระ ลงจากเรือเดินทางไปที่้้เจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งเป็นเจดีย์ร้าง เก็บพระบรมธาตุมาไว้ในขวดแก้วตั้งใจจะนำไปนมัสการที่กรุงเทพฯ แต่เมื่อตื่นมาก็ไม่พบพระธาตุ จึงได้เดินทางกลับ
คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์
คุณค่าทางวรรณศิลป์ในกลอนนิราศภูเขาทอง มีการเลือกใช้คำดีเด่นต่างๆ ดังนี้
               สัมผัสสระ คือ คำที่ใช้สระตัวเดียวกัน
              สัมผัสอักษร คือ คำที่มีอักษรคล้องจองกัน
               การใช้กวีโวหาร คือ นิราศภูเขาทองมีภาพพจน์ลักษณะต่างๆ ที่กวีเลือกใช้ ทำให้ผู้อ่านได้เข้าถึงความคิด ความรู้สึกของกวี
              ภาพพจน์อุปมาโวหารที่เปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเหมือนกัน มักใช้คำว่า เหมือน คล้าย ดุจ ดูราว ราวกับ
               ภาพพจน์กล่าวเกินจริง คือ การที่กวีอาจกล่าวมากหรือน้อยกว่าความเป็นจริง เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพในความคิดคำนึงได้ดีขึ้น
               การเลียนเสียง คือ กวีทำให้เสียงที่ได้ยินมาบรรยายให้เกิด มโนภาพและความไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
              การเล่นคำ คือ การใช้ถ้อยคำคำเดียวในความหมายต่างกันเพื่อให้ การพรรณนาไพเราะน่าอ่าน และมีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น


มัทนะพาธา

มัทนะพาธา




"มัทนะพาธา" ตำนานรักแห่งดอกกุหลาบในวรรณคดีไทย 
"มัทนะพาธา" หรือ "ตำนานแห่งดอกกุหลาบ" เป็นพระราชนิพนธ์ใน "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า)" เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อพ.ศ.2466 วรรณคดีสโมสร ได้ยกย่องว่า เป็นหนังสือแต่งดี เพราะทรงพระราชดำริให้ใช้คำฉันท์เป็นละครพูดอันเป็นข องแปลกในกระบวนวรรณคดีและแต่งได้โดยยาก

มัทนา มาจากศัพท์ มทน แปลว่า ความลุ่มหลงหรือความรัก มัทนะพาธา จึงมีความหมายว่า ความเจ็บปวดและความเดือนร้อนเพราะความรัก
พระราชนิพนธ์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อพ.ศ.2466 วรรณคดีสโมสร ได้ยกย่องว่า เป็นหนังสือแต่งดี เพราะทรงพระราชดำริ ให้ใช้คำฉันท์ เป็นละครพูด อันเป็นของแปลก ในกระบวนวรรณคดี และแต่งได้โดยยาก ยังไม่เคยมีกวีคนใด ได้พยายามแต่งมาแต่ก่อน อีกประการหนึ่ง ในทางภาษา ซึ่งปรุงชื่อตัวละคร และภูมิประเทศ ถูกต้องตามยุคแห่งภารตวรรษ อันจำนงให้เป็นตัวเรื่อง นับว่ารูปเรื่องปรุงดี จะแต่งได้ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ และสุตาญาณ อันกว้างขวาง

บทละครคำฉันท์เรื่องนี้ แสดงให้เห็นถึงพิษร้าย อันเนื่องมาจากความรัก ตรงตามความหมาย ของชื่อเรื่อง กล่าวคือ สุเทษณ์เทพ ผู้ทรงฤทธานุภาพ หลงรักมัทนาเทพธิดา แต่มัทนาไม่รักตอบ สุเทษณ์ผิดหวังและโกรธ ถึงกับสาปมัทนา ให้ไปเป็นดอกไม้ในโลกมนุษย์ เดือนหนึ่งเมื่อถึงวันเพ็ญ จึงกลายร่างเป็นมนุษย์ ที่สาวและสวยได้วันหนึ่ง ต่อเมื่อใดได้พบรัก โดยมีความรักกับบุรุษเพศ จึงจะเป็นมนุษย์ตลอดไป


ฉากปฏิญาณรัก ระหว่างท้าวชัยเสนกับมัทนา ในยามรุ่งอรุณ 
ชัยเสน อ้าอรุณแอร่มระเรื่อรุจี
ประดุจมโนภิรมย์ระตี ณ แรกรัก
แสงอะรุณวิโรจน์นะภาประจักษ์
แฉล้มเฉลาและโสภินัก นะฉันใด
หญิงและชาย ณ ยามระตีอุทัย
สว่าง ณ กลางกมลละไม ก็ฉันนั้น
แสงอุษาสะกาวพะพราว ณ สรรค์
ก็เหมือนระตีวิสุทธิอัน สว่างจิต
อ้าอนงคะเชิญดำเนิรสนิธ
ณ ข้าตะนูประดุจสุมิตร มโนมาน
ไปกระทั่ง ณ ฝั่งอุทกจีระธาร
และเปล่งพจี ณ สัจจะการ ประกาศหมั้น
ต่อพระพักตร์สุราภิรักษะอัน
เสด็จสถิต ณ เขตอะรัณ - ยะนี่ไซร้
ว่าตะนูและน้องจะเคียงคระไล
และครองตลอด ณ อายุขัย บ่คลาดคลา

เนื้อเรื่อง...มัทนะพาธา... จอมเทพสุเทษณ์เป็นทุกข์ด้วยความลุ่มหลงเทพธิดามัทนา แม้จิตระรถผู้สารถีคู่บารมีจะนำรูปของเทพเทวีผู้เลอโฉมหลายต่อหลายองค์มาถวายให้เลือกชม สุเทษณ์ก็มิสนใจไยดี จิตระรถจึงนำมายาวินวิทยาธร ผู้มีเวทมนตร์แก่กล้ามาเข้าเฝ้า สุเทษณ์จึงให้มายาวินใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหา เมื่อมาแล้วนางมัทนาก็เหม่อลอยมิมีสติสมบูรณ์เพราะตก อยู่ในฤทธิ์มนตรา 



แต่สุเทษณ์มิต้องการได้นางด้วยวิธีเยี่ยงนั้นจึงให้มายาวินคลายมนตร์ แต่ครั้นได้สติแล้วนางมัทนาก็ปฏิเสธว่ามิมีจิตเสน่หาตอบด้วย ไม่ว่าสุเทษณ์จะเกี้ยวพาและรำพันรักอย่างไร สุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์


มัทนาขอให้นางได้ไปเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่นหอม สุเทษณ์จึงสาปมัทนาให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบที่งามทั้ง กลิ่นทั้งรูปซึ่งมีแต่เฉพาะบนสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลก มนุษย์ โดยที่ในทุกๆ วันเพ็ญ นางมัทนาจะกลายร่างเป็นคนได้ 1 วัน 1 คืน และถ้านางมีความรักเมื่อใดนางก็จะมิต้องคืนรูปเป็นกุ หลาบอีกแต่นางจะได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความรักจนมิอาจทนอยู่ได้ และเมื่อนั้นถ้านางอ้อนวอนขอความช่วยเหลือตนจึงจะงดโทษทัณฑ์นี้ให้แก่นาง

นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบงามอยู่ในป่าหิมะวัน บรรดาศิษย์ของฤาษีนามกาละทรรศิน มาพบเข้าจึงนำความไปบอกพระอาจารย์ กาละทรรศินจึงให้ขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตน

ในขณะที่จะทำการขุดก็มีเสียงผู้หญิงร้อง กาละทรรศินเล็งญาณดูก็รู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติจึงได้เอ่ยเชิญและสัญญาว่าจะคอยดูแลปกป้องสืบไป เมื่อนั้นการจึงสำเร็จด้วยดี

วันเพ็ญในเดือนหนึ่ง ท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งหัสตินาปุระได้เสด็จออกล่าสัต ว์ในป่าหิมะวันและได้แวะมาพักที่อาศรมพระฤษี ครั้นได้เห็นนางมัทนาในโฉมของนารีผู้งดงามก็ถึงกับตะลึงและตกหลุมรัก จนถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็กปลูกพลับพลาพักแรมไว้ใกล้ อาศรมนั้นทันทีท้าวชัยเสนได้แต่รำพันถึงความรักลึกซึ้งที่มีต่อนางมัทนา

ครั้นเมื่อนางมัทนาออกมาที่ลานหน้าอาศรมก็มิเห็นผู้ใด ด้วยเพราะท้าวชัยเสนหลบไปแฝงอยู่หลังกอไม้ นางมัทนาจึงได้พรรณาถึงความรักที่เกิดขึ้นในใจอย่างท่วมท้นต่อท้าวชัยเสนบ้าง ท้าวชัยเสนซึ่งหลบอยู่จึงได้สดับฟังทุกถ้อยความจึงเผยตัวออกมา ทั้งสองจึงกล่าวถึงความรู้สึกอันล้ำลึกในใจที่ตรงกันจนเข้าใจในรักที่มีต่อกันจากค่ำคืนถึงยามรุ่งอรุณ

ท้าวชัยเสนจึงทรงประกาศหมั้นและคำสัญญารัก ณ ริมฝั่งลำธารใกล้อาศรมนั้น มัทนาก็ยังคงรูปเป็นนารีผู้งดงาม มิต้องกลายรูปเป็นกุหลาบอีก...
ท้าวชัยเสนได้ทูลขอนางมัทนา พระฤาษีก็ยกให้โดยให้จัดพิธีบูชาทวยเทพและพิธีวิวาห์ มงคลในป่านั้นเสียก่อน ท้าวชัยเสนเสด็จกลับวังหลายเพลาแล้วแต่ก็มิได้เสด็จไ ปยังพระตำหนักข้างใน ด้วยว่ายังทรงประทับอยู่แต่ในอุทยาน พระนางจัณฑีซึ่งเป็นมเหสีให้นางกำนัลมาสืบดูจนรู้ว่า พระสวามีนำสาวชาวป่ามาด้วย จึงตามมาพบท้าวชัยเสนกำลังอยู่กับนางมัทนาพอดี เมื่อพระนางจัณฑีเจรจาค่อนขอดดูหมิ่นนางมัทนา ท้าวชัยเสนก็กริ้วและทรงดุด่าว่าเป็นมเหสีผู้ริษยา พระนางจัณฑีแค้นใจนักให้คนไปทูลฟ้องพระบิดาผู้เป็นเจ้าแห่งมคธนครให้ยกทัพมาทำศึกกับท้าวชัยเสน จากนั้นก็คบคิดกับนางค่อมอราลีและให้วิทูรพราหมณ์ หมอเสน่ห์ทำอุบายกลั่นแกล้งนางมัทนาโดยส่งหนังสือไปทูลท้าวชัยเสนว่านางมัทนาป่วย

ครั้นเมื่อท้าวชัยเสนรีบเสด็จกลับมาเยี่ยมนางมัทนา ก็กลับพบหมอพราหมณ์กำลังทำพิธีอยู่ใกล้ๆ ต้นกุหลาบ วิทูรกับนางเกศินีข้าหลวงของนางจัณฑีจึงทูลใส่ความว่ านางมัทนาให้ทำเสน่ห์เพื่อให้ได้ร่วมชื่นชูสมสู่กับศุภางค์ ทหารเอกท้าวชัยเสน พระองค์ทรงกริ้วหนัก รับสั่งให้ศุภางค์ประหารนางมัทนาแต่ศุภางค์ไม่ยอม ท้าวชัยเสนจึงสั่งประหารทั้งคู่

พระนางจัณฑีได้โอกาสรีบเข้ามาทูลว่าตนจะอาสาออกไปห้ามศึกพระบิดาซึ่งคงเข้าใจผิดว่านางกับท้าวชัยเสนนั้นบาดหมางกัน แต่ท้าวชัยเสนตรัสว่าทรงรู้ทันอุบายของนางที่คิดก่อศ ึกแล้วจะห้ามศึกเอง พระองค์จะขอออกทำศึกอีกคราแล้วตัดหัวกษัตริย์มคธพ่อตาเอามาให้นางผู้ขบถต่อสวามีตนเอง


ขณะตั้งค่ายรบอยู่ที่นอกเมือง วิทูรพรหมณ์เฒ่าได้มาขอเข้าเฝ้าท้าวชัยเสนเพื่อสารภา พความทั้งปวงว่าพระนางจัณฑีเป็นผู้วางแผนการร้ายซึ่ง ในที่สุดแล้วตนสำนึกผิด และละอายต่อบาปที่เป็นเหตุให้คนบริสุทธิ์ต้องได้รับโ ทษประหาร ท้าวชัยเสนทราบความจริงแล้วคั่งแค้นจนดำริจะแทงตนเอง ให้ตาย แต่อำมาตย์นันทิวรรธนะเข้าห้ามไว้ทันและสารภาพว่าในคืนเกิดเหตุนั้นตนละเมิดคำสั่งมิได้ประหารศุภางค์และนางมัทนา หากแต่ได้ปล่อยเข้าป่าไป ซึ่งนางมัทนานั้นได้โสมะทัต ศิษญ์เอกของฤษีกาละทรรศินนำพากลับสู่อาศรมเดิม แต่ศุภางค์นั้นแฝงกลับเข้าไปร่วมกับกองทัพแล้วออกต่อ สู้กับข้าศึกจนตัวตาย

ท้าวชัยเสนจึงรับสั่งให้ประหารท้าวมคธที่ถูกจับมาเป็นเชลยไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ส่วนพระนางจัณฑีมเหสีนั้นทรงให้เนรเทศออกนอกพระนคร ด้วยทรงเห็นว่าอันนารีผู้มีใจมุ่งร้ายต่อผู้เป็นสามี ก็คงต้องแพ้ภัยตนเอง มิอาจอยู่เป็นสุขได้นานแน่


ฝ่ายนางมัทนานั้นได้ทำพิธีบูชาเทพและวอนขอร้องให้สุเทษณ์จอมเทพช่วยนางด้วย สุเทษณ์นั้นก็ยินดีจะแก้คำสาปและรับนางเป็นมเหสีแต่นางมัทนาก็ยังคงปฏิเสธ และอ้างว่า อันนารีจะมีสองสามีได้อย่างไร สุเทษณ์เห็นว่านางมัทนายังคงปฏิเสธความรักของตนจึงกริ้วนักสาปส่งให้นางมัทนาเป็นดอกกุหลาบไปตลอดกาล มิอาจกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อีกต่อไป

เมื่อท้าวชัยเสนตามมาถึงในป่า นางปริยัมวะทาที่ตามมาปรนนิบัติดูแลนางมัทนาด้วยก็ทูลเล่าความทั้งสิ้นให้ทรงทราบ ท้าวชัยเสนจึงร้องร่ำให้ด้วยความอาลัยรักแล้วขอให้พระฤาษีช่วยโดยใช้มนตราและกล่าวเชิญนางมัทนาให้ยินยอมกลับเข้าไปยังเวียงวังกับตนอีกครา

เมื่อพระฤาษีทำพิธีแล้ว ท้าวชัยเสนก็รำพันถึงความหลงผิดและความรักที่มีต่อนางมัทนาให้ต้นกุหลาบได้รับรู้ จากนั้นจึงสามารถขุดต้นกุหลาบได้สำเร็จ ท้าวชัยเสนได้นำต้นกุหลาบขึ้นวอทองเพื่อนำกลับไปปลูกในอุทยานและขอให้ฤาษีกาละทรรศินให้พรวิเศษว่ากุหลาบจะยังคงงดงามมิโรยรา ตราบจนกว่าตัวพระองค์เองจะสิ้นอายุขัย พระฤาษีก็อวยพรให้ดังใจ และประสิทธิประสาทพรให้กุหลาบนั้นดำรงอยู่คู่โลกนี้มิมีสูญพันธ์ อีกทั้งยังเป็นไม้ดอกที่กลิ่นอันหอมหวานสามารถช่วยดับทุกข์ในใจคนและดลบันดาลให้จิตใจเบิกบานเป็นสุขได้ ชาย-หญิงเมื่อมีรักก็จักใช้ดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักแท้สืบต่อไป 


คำประพันธ์อันคุ้นหูที่มาจากวรรณกรรมเรื่องนี้ 
...ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน
ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคใดใด
ความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิขังไว้
ก็โลดออกจากคอกไป บ่ ยอมอยู่ ณ ที่ขัง
ถึงหากจะผูกไว้ ก็ดึงไปด้วยกำลัง
ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง บ่ หวนคิดถึงเจ็บกาย

อิเหนา

อิเหนา






เริ่มเรื่องกล่าวถึงกษัตริย์วงศ์เทวา ๔ องค์ มีนามตามชื่อกรุงที่ครองราชย์ คือ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี ยังมีนครหมันหยาซึ่งเกี่ยวดองเป็นญาติกันกับนครเหล่านี้ โดยท้าวกุเรปันได้นางนิหลาอระตาแห่งหมันหยาเป็นชายา ส่วนท้าวดาหาได้นางดาหราวาตีเป็นชายาเช่นกัน กษัตริย์แห่งวงศ์เทวามีมเหสี ๕ องค์เรียงลำดับตามตำแหน่งดังนี้ ประไหมสุหรี มะเดหวี มะโต ลิกู และเหมาหลาหงี ต่อมาท้าวกุเรปันได้โอรสกับมเหสีเอก ซึ่งโอรสองค์นี้มีวาสนาสูง องค์ปะตาระกาหลา ซึ่งเป็นต้นวงศ์เทวาอยู่บนสวรรค์ได้นำกริชวิเศษลงมาให้ พร้อมจารึกชื่อไว้บนกริชว่า "หยังหยังหนึ่งหรัดอินดรา อุดากันสาหรีปาตี อิเหนาเองหยังตาหลา" แต่เรียกสั้นๆว่า อิเหนา ท้าวหมันหยาได้ธิดากับมเหสีเอกชื่อ จินตะหราวาตี และท้าวดาหาได้ธิดากับมเหสีเอกของตนเช่นเดียวกันชื่อว่า บุษบา ท้าวกุเรปันได้ขอตุนาหงัน (หมั้นไว้) บุษบาให้แก่อิเหนา เพื่อเป็นการสืบราชประเพณี "ตามจารีตโบราณสืบมา หวังมิให้วงศาอื่นปน…" ส่วนอิเหนาเติบโตเป็นเจ้าชายรูปงาม ชำนาญการใช้กริช ครั้นเมื่อพระอัยกีเมืองหมันหยาสิ้นพระชนม์ อิเหนาได้ไปในงานปลงพระศพแทนพระบิดาและพระมารดาซึ่งทรงครรภ์แก่ ได้ไปพบนางจินตะหราก็หลงรัก และได้นางเป็นชายา โดยไม่ฟังคำทัดทานจากท้าวกุเรปัน และได้บอกเลิกตุหนาหงันนางบุษบาเสียเฉยๆ ทำให้ท้าวดาหาขัดเคืองพระทัยมาก ดังนั้นพอจรกาซึ่ง "รูปชั่วตัวดำ" มาขอตุนาหงัน ท้าวดาหาก็ยอมรับเพราะแค้นอิเหนา  
           ฝ่ายองค์อสัญแดหวา (ปะตาระกาหลา) เทวดาผู้ทรงเป็นต้นวงศ์เทวาไม่พอพระทัย อิเหนา เห็นว่าต้องดัดสันดานให้สำนึกตัว จึงบันดาลให้วิหยาสะกำ โอรสท้าวกะหมังกุหนิงเก็บรูปนางบุษบาได้ เกิดคลั่งไคล้รบเร้าให้พระบิดาไปขอ ท้าวดาหาก็ให้ไม่ได้ ท้าวกะหมังกุหนิงก็รักลูกมาก จึงยกทัพไปรบเพื่อแย่งชิงนางบุษบา
           ท้าวดาหาแจ้งข่าวให้ท้าวกุเรปันและจรกายกทัพมาช่วย ท้าวกุเรปันโปรดให้อิเหนาเป็นแม่ทัพยกไปช่วย อิเหนาจึงจำใจต้องจากนางจินตะหรายกทัพไปช่วยท้าวดาหารบจนได้ชัยชนะ และฆ่าท้าวกะหมังกุหนิงและวิหยาสะกำตาย หลังจากเสร็จศึกแล้ว อิเหนาได้เข้าเฝ้าได้ท้าวดาหา และเมื่อได้พบนางบุษบาเป็นครั้งแรก อิเหนาถึงกับตะลึงหลงนางบุษบา
           ต่อมา มะเดหวีซึ่งคงจะวุ่นพระทัยว่าบุษบาจะลงเอยประการใด จึงชวนบุษบากับนางกำนัลไปทำพิธีเสี่ยงเทียนยังวิหาร ใกล้ๆวิหารนั้นพวกอิเหนากำลังตั้งวงเตะตะกร้อ ครั้นพวกสาวใช้มะเดหวีขึ้นมาไล่ ก็พากันวิ่งหนีกระจายไป แต่อิเหนา สังคามาระตาและประสันตาวิ่งเข้าไปแอบอยู่หลังพระปฏิมาในวิหาร  วิธีเสี่ยงทายนั้น ใช้เทียนสามเล่ม เล่มหนึ่งเป็นบุษบา ปักตรงหน้านาง อีกเล่มเป็นอิเหนาปักข้างขวา และข้างซ้ายเป็นจรกา แล้วมะเดหวีสอนให้บุษบากล่าวอธิษฐานว่า "แม้นจะได้ข้างไหนแน่ ให้ประจักษ์แท้จงหนักหนา แม้นจะได้ข้างระตูจรกา ให้เทียนพี่ยานั้นดับไป…" บุษบาแม้จะอายใจเต็มทีก็จำต้องทำตามมะเดหวี แล้วก็มีเสียงจากปฏิมาว่า "อันนางบุษบานงเยาว์ จะได้แก่อิเหนาเป็นแม่นมั่น จรกาใช่วงศ์เทวัญ  แม้นได้ครองกันจะอันตราย"  มะเดหวีได้ยินดังนั้น ก็ตื่นเต้นดี พระทัย แต่ไม่ช้าเรื่องก็แตก เพราะอิเหนาต้อนค้างคาวจนเทียนดับ แล้วใช้ความมืดเข้ามากอดบุษบา แล้วก็ไม่ยอมปล่อย จนพี่เลี้ยงไปเอาคบเพลิงมา ก็เห็นอิเหนากอดบุษบาไว้แน่น มะเดหวีจะกริ้วโกรธอย่างไร ก็เห็นว่าเสียทีอิเหนาเสียแล้ว จึงยอมสัญญาว่าจะหาทางให้อิเหนาได้กับบุษบา อิเหนาจึงยอมปล่อย  ครั้นไม่เห็นทางได้บุษบาแต่โดยดี อิเหนาก็คิดอุบายที่ร้ายแรงที่สุด คือเผาโรงมโหรสพในพิธีแต่งงานของบุษบาและจรกาในเมืองดาหา แล้วลักนางไปไว้ ในถ้ำทอง ซึ่งเตรียมไว้ก่อนแล้ว
           องค์ปะตาระกาหลากริ้วอิเหนามาก จึงบันดาลให้เกิดพายุใหญ่หอบรถนางบุษบาและพี่เลี้ยงไปตกที่ชายเมืองประมอตัน
           แล้วแปลงกายนางบุษบาให้เป็นชายชื่อว่า อุณากรรณ ประทานกริชวิเศษให้ และบอกให้เดินทางเข้าสู่เมืองประมอตัน ต่อจากนี้ก็ถึงบทมะงุมมะงาหรา (ท่องเที่ยวหา) อิเหนาเป็นฝ่ายตามหา บุษบาเป็นฝ่ายหนีเดินทางไปตามเมืองต่างๆ ปราบเมืองนั้นๆ ไว้ในอำนาจ มีเหตุการณ์สนุกตื่นเต้นสลับซับซ้อน เช่น ธิดาเจ้าเมืองต่างๆ เข้าใจว่าอุณากรรณเป็นผู้ชายก็หลงรัก  ตอนมะงุมมะงา หราเป็นเรื่องราวสักครึ่งหนึ่งของเรื่องทั้งหมด
           เมื่อสิ้นเวรสิ้นกรรมแล้ว กษัตริย์วงศ์เทวาทั้งหมดก็ได้พบกัน อิเหนาได้ปรับความเข้าใจกับนางจินตะหราและได้ครองเมืองกุเรปันอย่างมีความสุขสืบ ไป 
 เพลงบุษบาเสี่ยงเทียน
" เทียนจุดเวียนพระพุทธา ตัวข้า บุษบาขออธิษฐาน
เทียนที่เวียนนมัสการ บันดาลให้ หทัยสมปรารถนา
ดลจิตอิเหนา ให้เขามารักข้า ขอองค์พระปฏิมา เมตตาช่วยคิดอุ้มชู
ขอเทียนที่เวียนวน ดลฤทัยสิงสู่ ให้องค์ระเด่นเอ็นดู อย่าได้รู้คลายคลอน
อ้า องค์พระพุท-ธา ตัวข้า บุษบาขอกราบวิงวอน
ข้าสวดมนต์ขอพระพรวิงวอนให้ หทัยระเด่นปรานี
รักอย่าเคลือบแฝง ดังแสงเทียนริบหรี่ ขอองค์ระเด่นมนตรี โปรดมีจิตนึกเมตตา
ขอเทียนที่เสี่ยงทาย ดลให้คนรักข้ารักเพียงแต่บุษบา ดั่งข้านี้ ตั้งใจ
อ้า องค์พระพุทธา ตัวข้า บุษบาขอกราบวิงวอน
ข้าสวดมนต์ ขอพระพร วิงวอนให้ หทัยระเด่นปรานี
รัก อย่าเคลือบแฝง ดังแสงเทียนริบหรี่ ขอองค์ระเด่นมนตรี โปรดมีจิตนึกเมตตา

ขอเทียนที่เสี่ยงทาย ดลให้คนรักข้า รักเพียงแต่บุษบา ดั่งข้านี้ตั้งใจ.."

อ้างอิง

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ลิลิตตะเลงพ่าย


ลิลิตตะเลงพ่าย




ลิลิตตะเลงพ่าย










ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นบทประพันธ์ประเภทลิลิต ประพันธ์ขึ้นโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสและ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในวาระงานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในรัชกาลที่ 3 โดยตะเลงในที่นี้หมายถึง มอญ 


ที่มาของเรื่อง 

         1.พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม)
         2.วรรณคดีเก่าเรื่อง ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ 
         3.จินตนาการของผู้แต่ง คือ ช่วงบทนิราศ 

จุดมุ่งหมายในการแต่ง 

        1เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 
        2.ฉลองตึกวัดพระเชนตุพนฯ สมัย รัชกาลที่
        3.สร้างสมบารมีของผู้แต่ง(เพราะผู้แต่งขอไว้ว่าถ้าแต่งเสร็จขอให้สำเร็จสู่พระนิพพาน )


ผู้แต่ง 

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส


ลักษณะการแต่ง 

 แต่งด้วยลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ แต่งสลับกันไป จำนวน 439 บท โดยได้แบบอย่างการแต่งมาจากลิลิตยวนพ่ายที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ลิลิตเปรียบได้กับงานเขียนมหากาพย์ จัดเป็นวรรณคดีประเภทเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์

เนื้อเรื่องย่อ

เริ่มต้นชมบุญบารมีและพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วดำเนินความตามประวัติศาสตร์ว่า พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทรงทราบว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรได้ครองราชย์สมบัติ พระองค์จึงตรัสปรึกษาขุนนางทั้งปวงว่ากรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ พระพี่น้องทั้งสองอาจรบพุ่งชิงความเป็นใหญ่กัน ยังไม่รู้เหตุผลประการใด ควรส่งทัพไปเหยียบดินแดนไทย เป็นการเตือนสงครามไว้ก่อน ถ้าเหตุการณ์เมืองไทยไม่ปกติสุขก็ให้โจมตีทันที ขุนนางทั้งหลายก็เห็นชอบตามพระราชดำรีนั้น พระจ้าหงสาวดีจึงตรัสให้ พระมหาอุปราชเตรียมทัพร่วมกับพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ แต่พระมหาอุปราชกราบทูลพระบิดาว่าโหรทายว่าชันษาของพระองค์ร้ายนัก


สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่าพระมหาธรรมราชาไม่เสียแรงมีโอรสล้วนแต่เชี่ยวชาญกล้าหาญในศึกมิเคยย่อท้อการสงคราม ไม่เคยพักให้พระราชบิดาใช้เลยต้องห้ามเสียอีก และ หวาดกลัวพระราชอาญาของพระบิดายิ่งนัก จึงเตรียมจัดทัพหลวงและทัพหัวเมืองต่างๆ เพื่อยกมาตีไทย ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเตรียมทัพจะไปตีกัมพูชาเป็นการแก้แค้นที่ถือโอกาสรุกรานไทยหลายครั้งระหว่างที่ไทยติดศึกกับพม่า พอสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบข่าวศึกก็ทรงถอนกำลังไปสู้รบกับพม่าทันที ทัพหน้ายกล่วงหน้าไปตั้งที่ตำบลหนองสาหร่าย



ฝ่ายพระมาหาอุปราชาทรงคุมทัพมากับพระเจ้าเชียงใหม่รี้พลรบ 5 แสน เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทรงชมไม้ ชมนก ชมเขา และคร่าครวญถึงพระสนมกำนัลมาตลอดจนผ่านไทรโยคลำกระเพิน และเข้ายึดเมืองกาญจนบุรีได้โดยสะดวก ต่อจากนั้นก็เคลื่อนพลผ่านพนมทวนเกิดลางร้ายลมเวรัมภาพัดฉัตรหัก ทรงตั้งค่ายหลวงที่ตำบลตระพังตรุ ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพยุหยาตราทางชลมารค ไปขึ้นบกที่ปากโมก บังเกิดศุภนิมิต ต่อจากนั้นทรงกรีฑาทัพทางบกไปตั้งค่ายที่ตำบลหนองสาหร่าย เมื่อทรงทราบว่าพม่าส่งทหารมาลาดตะเวน ทรงแน่พระทัยว่าพม่าจะต้องโจมตีกรุงศรีอยุธยาเป็นแน่ จึงรับสั่งให้ทัพหน้าเข้าปะทะข้าศึกแล้ว ล่าถอยเพื่อลวงข้าศึกให้ประมาท แล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถทรงนำทัพหลวงออกมาช่วย ช้างพระที่นั่งลองเชือกตกมันกลับเขาไปในหมู่ข้าศึกแม่ทัพนายกองตามไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรัสท้าพระมหาอุปราชากรำยุทธหัตถีจนมีชัยชนะ พระมหาอุปราชาขาดคอช้าง สมเด็จพระเอกาทศรถกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแก่มังจาชโรเมื่อกองทัพพม่าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จพระนเรศวรมาหาราชรับสั่งให้สร้างสถูปเจดีย์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระมหาอุปราชา เสด็จแล้วจึงเลิกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา เป็นอับดับจบเนื้อเรื่อง



ตัวละคร


ฝ่ายไทย


สมเด็จพระนเรศวรมหาราช





หรือพระองค์ดำ พระมหาธรรมราชาเป็นพระบรมชนกนาถ มีพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ กษัตริย์องค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถ เป็นผู้ประกาศเอกราชหลังจากที่เสียไปให้กับพม่าถึง ๑๕ ปี รวมทั้งขยายราชอาณาจักรให้กว้างใหญ่ ทำสงครามกับพม่า จนพม่าหวาดกลัวไม่กล้ามารบกับไทยอีกเลยเป็นเวลาร้อยกว่าปี ทรงเสด็จสวรรคตในขณะที่เสด็จไปทำศึกกับกรุงอังวะ แต่เกิดประชวรเป็นระลอกที่พระพักตร์ แล้วกลายเป็นบาดทะพิษ ประชวรได้ ๓ วัน จึงเสด็จสวรรคต วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ พระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ครองราชย์ได้ ๑๕



สมเด็จพระเอกาทศรถ




หรือพระองค์ขาว อนุชาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงดำรงตำแหน่งอุปราช ครองเมืองพิษณุโลก แต่มีเกียรติยศเสมอพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร ทรงออกศึกทำสงครามร่วมกับสมเด็จพระนเรศวรตลอด และทรงครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระนเรศวร พระนามว่าสมเด็จพระเอกาทศรถ หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๓ มีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระอัครมเหสี สององค์คือ เจ้าฟ้าสุทัศน์ และเจ้าฟ้าศรีเสาวภาค และมีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระสนม อีกสามองค์คือ พระอินทรราชา พระศรีศิลป์ และพระองค์ทอง สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๓ พระชนม์พรรษาได้ ๕๐ พรรษาเศษ ครองราชย์ได้ห้าปี


พระมหาธรรมราชา

สมเด็จพระมหาธรรมราชาหรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๘ พระราชบิดาเป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย พระราชมารดาเป็นพระญาติฝ่ายพระราชชนนี สมเด็จพระไชยราชาธิราช แห่งราชวงศ์สุวรรณภูมิ พระองค์ทรงรับราชการเป็นที่ขุนพิเรนทรเทพ เจ้ากรมตำรวจรักษาพระองค์ หลังจากที่เหตุการณ์วุ่นวายในราชสำนักยุติลง และพระเฑียรราชาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ แล้วขุนพิเรนทรเทพ ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา แล้วได้รับโปรดเกล้าให้ไปครองเมืองพิษณุโลก สำเร็จราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีศักดิ์เทียบเท่าพระมหาอุปราช ได้รับพระราชทานพระวิสุทธิกษัตรี พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เป็นพระอัครมเหสี ต่อมามีพระราชโอรสและพระราชธิดาสามพระองค์คือ พระสุพรรณเทวี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ


สมเด็จพระวันรัต

         เดิมชื่อพระมหาเถรคันฉ่อง พระชาวมอญ จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าแก้ว หรือวัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน มีบทบาทครั้งสำคัญ คือ ในคราวที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพ ท่านเป็นผู้เกลี้ยกล่อมให้พระยาเกียรติ์ และพระยารามที่พระเจ้าหงสาวดีส่งมาให้ลอบกำจัดพระนเรศวร พระมหาเถรคันฉ่องทราบก่อน จึงนำความกราบทูลพระนเรศวร และเกลี้ยกล่อมให้ พระยาเกียรติ์ และพระยาราม รับสารภาพและเข้าร่วมกับพระนเรศวร
         วีรกรรมอีกครั้งหนึ่งของท่านคือ การขอพระราชทานอภัยโทษ บรรดาแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จสมเด็จพระนเรศวรไม่ทัน ต้องโทษประหารชีวิต สมเด็จพระวันรัตได้ขอบิณฑบาต พระราชทานอภัยโทษบรรดาแม่ทัพนายกองทั้งหลาย



พระยาศรีไสยณรงค์

แม่ทัพกองหน้าที่สมเด็จพระนเรศวรตั้งขึ้น มีกำลังพล ๕ หมื่น ยกไปตั้งที่หนองสาหร่าย แต่ไม่สามารถต้านทานทัพพม่าที่มีกำลังถึง ๕ แสนได้ สมเด็จพระนเรศวรจึงมีโองการให้ถอยทัพเพื่อจะตีโอบล้อมจนได้รับชัยชนะในที่สุด หลังจากนั้นพระยาศรีไสยณรงค์ได้ตามทัพพระยาจักรียกทัพไปตีเมืองตะนาวศรี และมริด เพื่อเป็นการไถ่โทษ


พระราชฤทธานนท์

ปลัดทัพหน้า ที่สมเด็จพระนเรศวรแต่งตั้งให้ไปรบเป็นเพื่อนกับพระยาศรีไสยณรงค์


เจ้าพระยาจักรี 

 รับผิดชอบด้านการพลเรือน และดูแลหัวเมืองทางภาคกลางและภาคเหนือ ถูกอาญาประหารชีวิตในคราวที่สมเด็จพระนเรศวรกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา แต่พระวันรัตมาขอพระราชทานอภัยโทษ สมเด็จพระนเรศวรพระราชทานอภัยโทษ แล้วรับสั่งให้นำทัพ ๕ หมื่นคน ไปตีเมืองตะนาวศรี และมริด เป็นการไถ่โทษ


เจ้าพระยาคลัง

รับผิดชอบด้านการต่างประเทศ ถูกอาญาประหารชีวิตเช่นเดียวกับเจ้าพระยาคลัง แต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ แล้วรับสั่งให้นำทัพ ๕ หมื่นคน ไปตีทวาย เป็นการไถ่โทษ


เจ้ารามราฆพ

กลางช้างของพระนเรศวร หนึ่งในสี่ทหารที่ตามเสด็จทันในการทำยุทธหัตถี และไม่โดนอาญาประหารชีวิต แถมยังได้รับการปูนบำเหน็จจากสมเด็จพระนเรศวร เพื่อตอบแทนความกล้าหาญ


ขุนศรีคชคง

ควาญช้างของพระเอกาทศรถ แถมยังได้รับการปูนบำเหน็จจากสมเด็จพระนเรศวร เพื่อตอบแทนความกล้าหาญ หนึ่งในสี่ทหารที่ตามเสด็จทันในการทำยุทธหัตถี

นายมหานุภาพ 

ควาญช้างของสมเด็จพระนเรศวร ถูกทหารพม่ายิงเสียชีวิตในช่วงที่กระทำยุทธหัตถี และได้รับพระราชทานยศและทรัพย์สิ่งของ ผ้าสำรดแก่บุตรภรรยา เป็นการตอบแทนความชอบ


หมื่นภักดีศวร

กลางช้างของสมเด็จพระเอกาทศรถ ถูกทหารพม่ายิงปืนถูกอกเสียชีวิตในช่วงที่กระทำยุทธหัตถี พระราชทานยศและทรัพย์สิ่งของ ผ้าสำรดแก่บุตรภรรยา เป็นการตอบแทนความชอบ


หมื่นทิพย์เสนา

นายทหารที่สมเด็จพระนเรศวรสั่งให้ไปดูทัพหน้าว่าเป็นอย่างไรบ้าง และนำตัวหมื่นคนหนึ่งกลับมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร เพื่อเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทัพหน้า และเป็นผู้ส่งข่าวให้ทัพหน้าถอยทัพหลังจากถูกพม่าตีอย่างหนัก



หมื่นราชามาตย์

นายทหารที่เดินทางไปพร้อมกับหมื่นทิพย์เสนาเพื่อแจ้งข่าวให้ทัพหน้าถอยทัพ คาดว่าจะเป็นนายทหารที่หมื่นทิพย์เสนานำมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร


หลวงญาณโยคโลกทีป 

โหรผู้ถวายคำพยากรณ์และหาฤกษ์ยามกับสงเด็จพระนเรศวร ในคราวที่พระองค์กำลังจะตัดสินพระทัยทำสงคราม โดยพยากรณ์ว่า พระองค์จะได้จตุรงคโชค คือ โชคดี ๔ ประการ ได้แก่ มีโชคดี , วัน เดือน ปี ในการทำสงครามดี , กำลังทหารเข้มแข็งดี , อาหารอุดมสมบูรณ์ดี และเชิญเสด็จเคลื่อนทัพในยามเช้า วันอาทิตย์ขึ้น ๑๑ ค่ำ ย่ำรุ่ง ๘ นาฬิกา ๓๐ นาที ในเดือนยี่ นับเป็นฤกษ์สิริมงคล


หลวงมหาวิชัย

พราหมณ์ผู้ที่ทำพิธีตัดไม้ข่มนาม ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรจะยกทัพออกรบ และ กระทำยุทธหัตถีจนได้รับชัยชนะ







ฝ่ายพม่า


พระเจ้าหงสาวดี





หรือนันทบุเรง กษัตริย์พม่า เดิมชื่อมังชัยสิงห์ราช โอรสของบุเรงนอง ดำรงตำแหน่งอุปราชในสมัยบุเรงนอง ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากบุเรงบอง พระราชบิดา ทรงหวังที่จะสร้างความยิ่งใหญ่เหมือนกับพระราชบิดา แต่ก็ทำไม่สำเร็จ สุดท้างยถูกลอบวางยาพิษสิ้นพระชนม์



พระมหาอุปราชา

โอรสของนันทบุเรง ดำรงดำแหน่งอุปราชาในสมัยของนันทบุเรง เดิมชื่อมังสามเกียด หรือมังกะยอชวา เป็นเพื่อนเล่นกันกับพระนเรศวรในสมัยที่พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงหงสาวดี ทรงทำงานสนองพระราชบิดาหลายครั้ง โดยเฉพาะราชการสงคราม และได้ถวายงานครั้งสุดท้ายในการยกทัพ ๕ แสนมาตีไทย และสิ้นพระชนม์ในการทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


พระยาจิดตอง

แม่กองการทำสะพานเชือกข้ามแม่น้ำกระเพิน

สมิงอะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่วน 

กองลาดตระเวนที่พระมหาอุปราชาส่งให้มาหาข่าวของกองทัพไทย ก่อนที่จะตัดสินพระทัยยกกองทัพเข้าปะทะกับไทย

มางจาชโร

พี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชา ผู้ที่ชนช้างกับพระเอกาทศรถ และถูกพระเอกาทศรถฟันด้วยพระแสงของ้าวคอขาด


เจ้าเมืองมล่วน

ควาญช้างของพระมหาอุปราชา ผู้ที่สมเด็จพระนเรศวรรับ
สั่งให้กลับไปแจ้งข่าวการแพ้สงคราม และการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชาแก่พระเจ้าหงสาวดี

อ้างอิง