วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

นิราศภูเขาทอง




นิราศภูเขาทอง

    นิราศภูเขาทองเป็นวรรณคดีประเภทนิราศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดของสุนทรภู่ (พ.ศ. ๒๓๒๙ - ๒๓๙๘) ท่านแต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทองที่กรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน) เมื่อเดือนสิบเอ็ด ปีชวด (พ.ศ. ๒๓๗๑) ขณะบวชเป็นพระภิกษุ 


ลักษณะคำประพันธ์
        นิราศภูเขาทองแต่งด้วยกลอนแปด มี ความยาวเพียง ๘๙ คำกลอนเท่านั้น แต่มีความไพเราะ และเรียบง่าย ความแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึกขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของเส้นทางที่กำลังเดินทางไปด้วย ท่านมักจะเปรียบเทียบชีวิตและโชคชะตาของตนกับธรรมชาติรอบข้างที่ตนได้เดิน ทางผ่านไป มีหลายบทที่เป็นที่รู้จักและท่องจำกันได้
การเดินทางในนิราศ
        สุนทรภู่ล่องเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาไปกับลูกชายชื่อหนูพัด ผ่านวัดประโคน บางยี่ขัน ถึงบางพลัด ผ่านตลาดแก้วตลาดขวัญในเขตจังหวัดนนทบุรี จากนั้นก็ผ่านเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นย่านชาวมอญ เข้าสู่ จังหวัดปทุมธานี หรือเมืองสามโคก แล้วเข้าเขตอยุธยา จอดเรือที่ท่าวัดพระเมรุ ค้างคืนในเรือ มีโจรแอบจะมาขโมยของในเรือ แต่ไหวตัวทัน รุ่งเช้าเป็นวันพระ ลงจากเรือเดินทางไปที่้้เจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งเป็นเจดีย์ร้าง เก็บพระบรมธาตุมาไว้ในขวดแก้วตั้งใจจะนำไปนมัสการที่กรุงเทพฯ แต่เมื่อตื่นมาก็ไม่พบพระธาตุ จึงได้เดินทางกลับ
คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์
คุณค่าทางวรรณศิลป์ในกลอนนิราศภูเขาทอง มีการเลือกใช้คำดีเด่นต่างๆ ดังนี้
               สัมผัสสระ คือ คำที่ใช้สระตัวเดียวกัน
              สัมผัสอักษร คือ คำที่มีอักษรคล้องจองกัน
               การใช้กวีโวหาร คือ นิราศภูเขาทองมีภาพพจน์ลักษณะต่างๆ ที่กวีเลือกใช้ ทำให้ผู้อ่านได้เข้าถึงความคิด ความรู้สึกของกวี
              ภาพพจน์อุปมาโวหารที่เปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเหมือนกัน มักใช้คำว่า เหมือน คล้าย ดุจ ดูราว ราวกับ
               ภาพพจน์กล่าวเกินจริง คือ การที่กวีอาจกล่าวมากหรือน้อยกว่าความเป็นจริง เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพในความคิดคำนึงได้ดีขึ้น
               การเลียนเสียง คือ กวีทำให้เสียงที่ได้ยินมาบรรยายให้เกิด มโนภาพและความไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
              การเล่นคำ คือ การใช้ถ้อยคำคำเดียวในความหมายต่างกันเพื่อให้ การพรรณนาไพเราะน่าอ่าน และมีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น