วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ลิลิตตะเลงพ่าย


ลิลิตตะเลงพ่าย




ลิลิตตะเลงพ่าย










ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นบทประพันธ์ประเภทลิลิต ประพันธ์ขึ้นโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสและ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในวาระงานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในรัชกาลที่ 3 โดยตะเลงในที่นี้หมายถึง มอญ 


ที่มาของเรื่อง 

         1.พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม)
         2.วรรณคดีเก่าเรื่อง ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ 
         3.จินตนาการของผู้แต่ง คือ ช่วงบทนิราศ 

จุดมุ่งหมายในการแต่ง 

        1เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 
        2.ฉลองตึกวัดพระเชนตุพนฯ สมัย รัชกาลที่
        3.สร้างสมบารมีของผู้แต่ง(เพราะผู้แต่งขอไว้ว่าถ้าแต่งเสร็จขอให้สำเร็จสู่พระนิพพาน )


ผู้แต่ง 

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส


ลักษณะการแต่ง 

 แต่งด้วยลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ แต่งสลับกันไป จำนวน 439 บท โดยได้แบบอย่างการแต่งมาจากลิลิตยวนพ่ายที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ลิลิตเปรียบได้กับงานเขียนมหากาพย์ จัดเป็นวรรณคดีประเภทเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์

เนื้อเรื่องย่อ

เริ่มต้นชมบุญบารมีและพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วดำเนินความตามประวัติศาสตร์ว่า พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทรงทราบว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรได้ครองราชย์สมบัติ พระองค์จึงตรัสปรึกษาขุนนางทั้งปวงว่ากรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ พระพี่น้องทั้งสองอาจรบพุ่งชิงความเป็นใหญ่กัน ยังไม่รู้เหตุผลประการใด ควรส่งทัพไปเหยียบดินแดนไทย เป็นการเตือนสงครามไว้ก่อน ถ้าเหตุการณ์เมืองไทยไม่ปกติสุขก็ให้โจมตีทันที ขุนนางทั้งหลายก็เห็นชอบตามพระราชดำรีนั้น พระจ้าหงสาวดีจึงตรัสให้ พระมหาอุปราชเตรียมทัพร่วมกับพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ แต่พระมหาอุปราชกราบทูลพระบิดาว่าโหรทายว่าชันษาของพระองค์ร้ายนัก


สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่าพระมหาธรรมราชาไม่เสียแรงมีโอรสล้วนแต่เชี่ยวชาญกล้าหาญในศึกมิเคยย่อท้อการสงคราม ไม่เคยพักให้พระราชบิดาใช้เลยต้องห้ามเสียอีก และ หวาดกลัวพระราชอาญาของพระบิดายิ่งนัก จึงเตรียมจัดทัพหลวงและทัพหัวเมืองต่างๆ เพื่อยกมาตีไทย ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเตรียมทัพจะไปตีกัมพูชาเป็นการแก้แค้นที่ถือโอกาสรุกรานไทยหลายครั้งระหว่างที่ไทยติดศึกกับพม่า พอสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบข่าวศึกก็ทรงถอนกำลังไปสู้รบกับพม่าทันที ทัพหน้ายกล่วงหน้าไปตั้งที่ตำบลหนองสาหร่าย



ฝ่ายพระมาหาอุปราชาทรงคุมทัพมากับพระเจ้าเชียงใหม่รี้พลรบ 5 แสน เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทรงชมไม้ ชมนก ชมเขา และคร่าครวญถึงพระสนมกำนัลมาตลอดจนผ่านไทรโยคลำกระเพิน และเข้ายึดเมืองกาญจนบุรีได้โดยสะดวก ต่อจากนั้นก็เคลื่อนพลผ่านพนมทวนเกิดลางร้ายลมเวรัมภาพัดฉัตรหัก ทรงตั้งค่ายหลวงที่ตำบลตระพังตรุ ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพยุหยาตราทางชลมารค ไปขึ้นบกที่ปากโมก บังเกิดศุภนิมิต ต่อจากนั้นทรงกรีฑาทัพทางบกไปตั้งค่ายที่ตำบลหนองสาหร่าย เมื่อทรงทราบว่าพม่าส่งทหารมาลาดตะเวน ทรงแน่พระทัยว่าพม่าจะต้องโจมตีกรุงศรีอยุธยาเป็นแน่ จึงรับสั่งให้ทัพหน้าเข้าปะทะข้าศึกแล้ว ล่าถอยเพื่อลวงข้าศึกให้ประมาท แล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถทรงนำทัพหลวงออกมาช่วย ช้างพระที่นั่งลองเชือกตกมันกลับเขาไปในหมู่ข้าศึกแม่ทัพนายกองตามไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรัสท้าพระมหาอุปราชากรำยุทธหัตถีจนมีชัยชนะ พระมหาอุปราชาขาดคอช้าง สมเด็จพระเอกาทศรถกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแก่มังจาชโรเมื่อกองทัพพม่าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จพระนเรศวรมาหาราชรับสั่งให้สร้างสถูปเจดีย์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระมหาอุปราชา เสด็จแล้วจึงเลิกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา เป็นอับดับจบเนื้อเรื่อง



ตัวละคร


ฝ่ายไทย


สมเด็จพระนเรศวรมหาราช





หรือพระองค์ดำ พระมหาธรรมราชาเป็นพระบรมชนกนาถ มีพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ กษัตริย์องค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถ เป็นผู้ประกาศเอกราชหลังจากที่เสียไปให้กับพม่าถึง ๑๕ ปี รวมทั้งขยายราชอาณาจักรให้กว้างใหญ่ ทำสงครามกับพม่า จนพม่าหวาดกลัวไม่กล้ามารบกับไทยอีกเลยเป็นเวลาร้อยกว่าปี ทรงเสด็จสวรรคตในขณะที่เสด็จไปทำศึกกับกรุงอังวะ แต่เกิดประชวรเป็นระลอกที่พระพักตร์ แล้วกลายเป็นบาดทะพิษ ประชวรได้ ๓ วัน จึงเสด็จสวรรคต วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ พระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ครองราชย์ได้ ๑๕



สมเด็จพระเอกาทศรถ




หรือพระองค์ขาว อนุชาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงดำรงตำแหน่งอุปราช ครองเมืองพิษณุโลก แต่มีเกียรติยศเสมอพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร ทรงออกศึกทำสงครามร่วมกับสมเด็จพระนเรศวรตลอด และทรงครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระนเรศวร พระนามว่าสมเด็จพระเอกาทศรถ หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๓ มีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระอัครมเหสี สององค์คือ เจ้าฟ้าสุทัศน์ และเจ้าฟ้าศรีเสาวภาค และมีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระสนม อีกสามองค์คือ พระอินทรราชา พระศรีศิลป์ และพระองค์ทอง สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๓ พระชนม์พรรษาได้ ๕๐ พรรษาเศษ ครองราชย์ได้ห้าปี


พระมหาธรรมราชา

สมเด็จพระมหาธรรมราชาหรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๘ พระราชบิดาเป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย พระราชมารดาเป็นพระญาติฝ่ายพระราชชนนี สมเด็จพระไชยราชาธิราช แห่งราชวงศ์สุวรรณภูมิ พระองค์ทรงรับราชการเป็นที่ขุนพิเรนทรเทพ เจ้ากรมตำรวจรักษาพระองค์ หลังจากที่เหตุการณ์วุ่นวายในราชสำนักยุติลง และพระเฑียรราชาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ แล้วขุนพิเรนทรเทพ ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา แล้วได้รับโปรดเกล้าให้ไปครองเมืองพิษณุโลก สำเร็จราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีศักดิ์เทียบเท่าพระมหาอุปราช ได้รับพระราชทานพระวิสุทธิกษัตรี พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เป็นพระอัครมเหสี ต่อมามีพระราชโอรสและพระราชธิดาสามพระองค์คือ พระสุพรรณเทวี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ


สมเด็จพระวันรัต

         เดิมชื่อพระมหาเถรคันฉ่อง พระชาวมอญ จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าแก้ว หรือวัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน มีบทบาทครั้งสำคัญ คือ ในคราวที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพ ท่านเป็นผู้เกลี้ยกล่อมให้พระยาเกียรติ์ และพระยารามที่พระเจ้าหงสาวดีส่งมาให้ลอบกำจัดพระนเรศวร พระมหาเถรคันฉ่องทราบก่อน จึงนำความกราบทูลพระนเรศวร และเกลี้ยกล่อมให้ พระยาเกียรติ์ และพระยาราม รับสารภาพและเข้าร่วมกับพระนเรศวร
         วีรกรรมอีกครั้งหนึ่งของท่านคือ การขอพระราชทานอภัยโทษ บรรดาแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จสมเด็จพระนเรศวรไม่ทัน ต้องโทษประหารชีวิต สมเด็จพระวันรัตได้ขอบิณฑบาต พระราชทานอภัยโทษบรรดาแม่ทัพนายกองทั้งหลาย



พระยาศรีไสยณรงค์

แม่ทัพกองหน้าที่สมเด็จพระนเรศวรตั้งขึ้น มีกำลังพล ๕ หมื่น ยกไปตั้งที่หนองสาหร่าย แต่ไม่สามารถต้านทานทัพพม่าที่มีกำลังถึง ๕ แสนได้ สมเด็จพระนเรศวรจึงมีโองการให้ถอยทัพเพื่อจะตีโอบล้อมจนได้รับชัยชนะในที่สุด หลังจากนั้นพระยาศรีไสยณรงค์ได้ตามทัพพระยาจักรียกทัพไปตีเมืองตะนาวศรี และมริด เพื่อเป็นการไถ่โทษ


พระราชฤทธานนท์

ปลัดทัพหน้า ที่สมเด็จพระนเรศวรแต่งตั้งให้ไปรบเป็นเพื่อนกับพระยาศรีไสยณรงค์


เจ้าพระยาจักรี 

 รับผิดชอบด้านการพลเรือน และดูแลหัวเมืองทางภาคกลางและภาคเหนือ ถูกอาญาประหารชีวิตในคราวที่สมเด็จพระนเรศวรกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา แต่พระวันรัตมาขอพระราชทานอภัยโทษ สมเด็จพระนเรศวรพระราชทานอภัยโทษ แล้วรับสั่งให้นำทัพ ๕ หมื่นคน ไปตีเมืองตะนาวศรี และมริด เป็นการไถ่โทษ


เจ้าพระยาคลัง

รับผิดชอบด้านการต่างประเทศ ถูกอาญาประหารชีวิตเช่นเดียวกับเจ้าพระยาคลัง แต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ แล้วรับสั่งให้นำทัพ ๕ หมื่นคน ไปตีทวาย เป็นการไถ่โทษ


เจ้ารามราฆพ

กลางช้างของพระนเรศวร หนึ่งในสี่ทหารที่ตามเสด็จทันในการทำยุทธหัตถี และไม่โดนอาญาประหารชีวิต แถมยังได้รับการปูนบำเหน็จจากสมเด็จพระนเรศวร เพื่อตอบแทนความกล้าหาญ


ขุนศรีคชคง

ควาญช้างของพระเอกาทศรถ แถมยังได้รับการปูนบำเหน็จจากสมเด็จพระนเรศวร เพื่อตอบแทนความกล้าหาญ หนึ่งในสี่ทหารที่ตามเสด็จทันในการทำยุทธหัตถี

นายมหานุภาพ 

ควาญช้างของสมเด็จพระนเรศวร ถูกทหารพม่ายิงเสียชีวิตในช่วงที่กระทำยุทธหัตถี และได้รับพระราชทานยศและทรัพย์สิ่งของ ผ้าสำรดแก่บุตรภรรยา เป็นการตอบแทนความชอบ


หมื่นภักดีศวร

กลางช้างของสมเด็จพระเอกาทศรถ ถูกทหารพม่ายิงปืนถูกอกเสียชีวิตในช่วงที่กระทำยุทธหัตถี พระราชทานยศและทรัพย์สิ่งของ ผ้าสำรดแก่บุตรภรรยา เป็นการตอบแทนความชอบ


หมื่นทิพย์เสนา

นายทหารที่สมเด็จพระนเรศวรสั่งให้ไปดูทัพหน้าว่าเป็นอย่างไรบ้าง และนำตัวหมื่นคนหนึ่งกลับมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร เพื่อเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทัพหน้า และเป็นผู้ส่งข่าวให้ทัพหน้าถอยทัพหลังจากถูกพม่าตีอย่างหนัก



หมื่นราชามาตย์

นายทหารที่เดินทางไปพร้อมกับหมื่นทิพย์เสนาเพื่อแจ้งข่าวให้ทัพหน้าถอยทัพ คาดว่าจะเป็นนายทหารที่หมื่นทิพย์เสนานำมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร


หลวงญาณโยคโลกทีป 

โหรผู้ถวายคำพยากรณ์และหาฤกษ์ยามกับสงเด็จพระนเรศวร ในคราวที่พระองค์กำลังจะตัดสินพระทัยทำสงคราม โดยพยากรณ์ว่า พระองค์จะได้จตุรงคโชค คือ โชคดี ๔ ประการ ได้แก่ มีโชคดี , วัน เดือน ปี ในการทำสงครามดี , กำลังทหารเข้มแข็งดี , อาหารอุดมสมบูรณ์ดี และเชิญเสด็จเคลื่อนทัพในยามเช้า วันอาทิตย์ขึ้น ๑๑ ค่ำ ย่ำรุ่ง ๘ นาฬิกา ๓๐ นาที ในเดือนยี่ นับเป็นฤกษ์สิริมงคล


หลวงมหาวิชัย

พราหมณ์ผู้ที่ทำพิธีตัดไม้ข่มนาม ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรจะยกทัพออกรบ และ กระทำยุทธหัตถีจนได้รับชัยชนะ







ฝ่ายพม่า


พระเจ้าหงสาวดี





หรือนันทบุเรง กษัตริย์พม่า เดิมชื่อมังชัยสิงห์ราช โอรสของบุเรงนอง ดำรงตำแหน่งอุปราชในสมัยบุเรงนอง ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากบุเรงบอง พระราชบิดา ทรงหวังที่จะสร้างความยิ่งใหญ่เหมือนกับพระราชบิดา แต่ก็ทำไม่สำเร็จ สุดท้างยถูกลอบวางยาพิษสิ้นพระชนม์



พระมหาอุปราชา

โอรสของนันทบุเรง ดำรงดำแหน่งอุปราชาในสมัยของนันทบุเรง เดิมชื่อมังสามเกียด หรือมังกะยอชวา เป็นเพื่อนเล่นกันกับพระนเรศวรในสมัยที่พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงหงสาวดี ทรงทำงานสนองพระราชบิดาหลายครั้ง โดยเฉพาะราชการสงคราม และได้ถวายงานครั้งสุดท้ายในการยกทัพ ๕ แสนมาตีไทย และสิ้นพระชนม์ในการทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


พระยาจิดตอง

แม่กองการทำสะพานเชือกข้ามแม่น้ำกระเพิน

สมิงอะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่วน 

กองลาดตระเวนที่พระมหาอุปราชาส่งให้มาหาข่าวของกองทัพไทย ก่อนที่จะตัดสินพระทัยยกกองทัพเข้าปะทะกับไทย

มางจาชโร

พี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชา ผู้ที่ชนช้างกับพระเอกาทศรถ และถูกพระเอกาทศรถฟันด้วยพระแสงของ้าวคอขาด


เจ้าเมืองมล่วน

ควาญช้างของพระมหาอุปราชา ผู้ที่สมเด็จพระนเรศวรรับ
สั่งให้กลับไปแจ้งข่าวการแพ้สงคราม และการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชาแก่พระเจ้าหงสาวดี

อ้างอิง





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น